การไม่คบคนพาล เป็นมงคลอันสูงสุด
วันนี้ ขอเริ่มต้นด้วยมงคลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสวิสัชชนาให้แก่เหล่าเทวดาอันมีัท้าวสักกเทวราชเป็นประธาน ได้เข้าเฝ้าทูลถามปัญหา จึงขออธิบายขยายความหมายของคำว่า "พาล" ที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ ดังปรากฏในมงคลทีปนี ที่รจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ไว้คร่าวๆ ดังนี้ครับ
จากคำจำกัดความเหล่านี้ เราท่านทั้งหลาย ผู้อยู่ในฐานะปุถุชนคนธรรมดา จึงอาจยังมองไม่เห็นภาพชัดเจนว่า แท้ที่จริงแล้ว คำพูดที่เราเคยได้ยินมาตลอดว่า คนพาลๆ นั้น มีลักษณะเป็นอย่างไร? ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้อรรถาธิบายขยายความสรุปให้เราได้เข้าใจว่า คนที่มีลักษณะ แบบนี้แหละ คือ คนพาล ในทรรศนะทางพระพุทธศาสนา คือ
ข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ แนวทางในการตรัสสอนของพระพุทธองค์นั้น มีลักษณะที่พิเศษไม่เหมือนกับเจ้าลัทธิท่านอื่นๆ ในสมัยนั้นอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ พระพุทธองค์จะทรงประกาศพระศาสนาและสั่งสอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งอุปมาคล้ายๆ กับ คนบอกทาง
ธรรมดาคนบอกทางนั้น เมื่อมีผู้สอบถามเส้นทาง ก็มักจะบอกว่า ถ้าท่านประสงค์จะไปที่เมืองนี้ ท่านต้องหลีกเลี่ยงเส้นทางนี้ อย่าไปตามเส้นทางนี้ เพราะเป็นเส้นทางที่ว่านั้น เดินทางได้ยากลำบาก แต่!!!! ท่านจงไปตามเส้นทางนี้ เพราะสะดวกและปลอดภัย
ดังนั้น เราจึงสังเกตุได้ว่า ในหมวดหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎอยู่ในคำภีร์หรือตำราต่างๆ นั้น มักจะพบคำสอนที่ขึ้นต้นด้วยหัวข้อที่เป็นอกุศลธรรมก่อนเสมอ แล้วจึงตามมาด้วยหัวข้อที่เป็นกุศลธรรม ทั้งนี้ ก็เพราะพระพุทธองค์จะทรงแสดงให้เห็นเรื่องไม่ดี ให้คนฟังเกิดความสลดสังเวชก่อนแล้วจึงค่อยแสดงธรรมอันเกิดความปิติปราโมทย์แล้วจิตใจผู้นั้น ก็จะน้อมเข้าไปสู่ธรรมะได้นั่นเอง
ดังนั้น ในมงคลคาถาที่ ๑ นี้ พระพุทธองค์ จึงทรงแสดง พาลลักษณะไว้ก่อน แล้วจึงค่อยแสดงลักษณะของบัณฑิต ในภายหลัง ด้วยประการฉะนี้แล
เมื่อเราทราบแล้วว่า ลักษณะของคนพาลที่พระพุทธองค์ตรัสแสดงไว้ มีลักษณะเป็นเช่นไรแล้ว ท่านจึงได้อธิบายขยายเนื้อความพร้อมทั้งอุปมาเอาไว้ ว่า
คนพาล นั้น เป็นเช่นกับปลาเน่า ส่วนผู้ที่ไปคบกับคนพาลนั้นหรือ ก็เป็นเช่นกับใบไม้ห่อปลาเน่า ไม่แคล้วที่จะแปดเปื้อนเหม็นคาวจากกลิ่นปลาเน่านั้นด้วย เพราะคนคบคนเช่นใด ก็เป็นเช่นดังบุคคลนั้น ดังโคลงโลกนิติ ที่ว่า
ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์ฯ
ในข้อดังกล่าว จึงมีนิทานเรื่อง ลูกนกแขกเต้า ให้ท่านคิดเพื่อเป็นภาพประกอบกับคำสอนนั้น ดังนี้
ในอดีตกาล มีลูกนกแขกเตา ๒ ตัวพี่นอง เกิดในปางิ้วใกลสานุบรรพต ทิศเหนืออยู่ติดกับหมู่บานของโจร ๕๐๐ ส่วนทิศใต อยู่ต่อเขตกับอาศรมของฤาษี ๕๐๐
ในเวลาที่ขนปกลูกนกแขกเต้ายังไมออก ก็เกิดมีลมหัวด้วนขึ้น แล้วพัดเอกลูกนกทั้ง ๒ นั้น ไปตกอยู่ตัวละแหง ตัวหนึ่ง ไปตกในระหวางอาวุธ ในบานโจร จึงได้นามวา สัตติคุมพะ (พุ่มหอก) และเติบโตขึ้นในท่ามกลางแห่งสภาพแวดล้อมของหมู่โจร ส่วนลูกนกอีกตัวหนึ่ง กลับไปตกในระหวางดอกไมที่หาดทรายใกลอาศรมพวกฤษี จึงได้นามวา "ปุปผกะ" (ดอกไม้)
คราวนั้น มีพระราชาพระองค์หนึ่ง พระนามวา ปญจาละ ในพระนครอุตตรปญจาละ ทรงออกเสด็จประพาสป่าเพื่อลาเนื้อ ก่อนทำการล่าเนื้อ ก็ทรงมีพระราชโองการดํารัสสั่งเป็น กติกาวา " ถ้าเนื้อหนีไปทางผูใด ผูนั้น ตองถูกปรับ" และแล้ว จะด้วยเหตุผลกลใดก็ไม่อาจทราบได้ เพราะเนื้อที่ทำการล่านั้น บังเอิญหนีออกมาทางที่ที่พระราชาประทับอยู่พอดี พวกเสนาอามาตย์ทั้ง ก็ยิ้มเยาะเย้ยพระราชา ด้วยความขวยอาย พระองค์จึงรีบเสด็จขึ้นรถเพื่อตามล่าเนื้อตัวนี้ให้จงได้ จนพวกมหาดเล็กไมอาจติดตามพระองค์ได้ทัน แต่จนแล้วจนรอด ก็มิอาจตามเนื้อตัวนั้นทัน จึงทรงสนานและเสวยน้ํา ณ ลําธาร แลวบรรทมหลับใตรมไมในที่ใกลบานโจร
ขณะนั้น พวกโจรทั้งหลาย ได้เข้าปากันหมด ภายในบานเหลืออยูแต นกสัตติคุมพะกับคนทําครัวคนหนึ่ง นกสัตติคุมพะออกจากบ้านมาพบพระราชาที่กำลังบรรทมอยู่ จึงกลับเข้าบ้านไปพูดกับคนทําครัว ดวยภาษามนุษยวา "พวกเราจะชวยกันปลงพระชนมพระราชา เอาผา และอาภรณของพระองค จับพระองคที่พระบาทแลวลากมา เอากิ่งไม ปดซอนเสีย ไม่ให้คนอื่นเห็น"
ไม่แปลกหรอกครับ เพราะเหตุใดนกสัตติคุมพะ จึงพูดเช่นนั้น ก็เพราะมันเติบโตขึ้นในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมของพวกโจร ในแต่ละวัน มันก็จะได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง พวกโจรประชุมปรึกษาหารือกันว่า วันนี้ เราจะไปปล้นใคร ที่ไหน ด้วยวิธีการอย่างไร ที่สำคัญคือ ปล้นแล้วต้องฆ่าเจ้าทรัพย์ให้หมด ไม่งั้น พวกที่เหลือก็จะไปบอกทางการมาจับได้ นั่นเอง
เอาล่ะครับ! เมื่องพระราชาทรงไดยินถอยคํานั้น ก็ทรงทราบวา "ที่นี่มีภัยเกิดขึ้นอย่างแน่นอน" ทรงตกพระหฤทัย จึงรีบเสด็จขึ้นรถหนีจากที่นั้นไป จนถึงอาศรมของพวกฤษี
คราวนั้น พวกฤาษี ไปเก็บผลไมกันหมด ในอาศรมจึงเหลืออยูแตนกปุปผกะ ตัวเดียว ด้วยความที่มันเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยบัณฑิต มันจึงได้เห็น ได้ยินและได้ฟังแต่เรื่องดีๆ นั่นเอง พอเห็นพระราชาเสด็จมา จึงไดทําปฏิสันถารต้อนรับด้วยความเป็นกัลยาณมิตรว่า
"ขอเดชะพระมหาราชเจา พระองคเสด็จมา ดีแลว พระองคมิไดเสด็จมาราย"
พระราชาทรงเลื่อมใสในปฏิสันถารของนกนั้น จึงแปลกพระทัยแล้วตรัสขึ้นว่า เหตุใด นกชนิดเดียวกัน จึงมีอุปนิสัยที่แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว
นกปุพพกะ จึงทูลให้ทราบวา "ขอเดชะมหาราชเจา ขาพระองคเป็นพี่น้องรวมมารดาเดียวกันกับนกตัวนั้น แตเขาเติบโตในสํานักคนไมดี คนพวกนั้นแนะนําเขาในเรื่องที่ไม่ดี ส่วนขาพระองค์ เติบโตในสํานักของพวกคนดี คนเหลานั้นแนะนําข้าพเจ้าแต่เรื่องดีๆ ด้วยเหตุนั้น ขาพระองคทั้ง ๒ จึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันนั่นเอง
สำหรับวันนี้ ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามครับ
ส. คำเวียง